6 โรคร้ายอันตราย ที่พระธุดงค์เดินป่า ต้องพึงระวัง
การธุดงค์ในป่าหรือถ้ำ ถือเป็นวัตรที่พระออกธุดงค์ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับสรรพสิ่งหรือสัตว์ต่างๆที่สร้างเป็นปัญหากวนใจหรือทำอันตรายให้แก่พระสงฆ์ 👨🏻🦲
💁🏻♂️ ซึ่งหากพระท่านขาดความระมัดระวังในการดูแลตัวเอง อาจจะทำให้มีโอกาสที่จะป่วยหรือเป็นโรคที่มาจากการออกธุดงค์ก็เป็นได้ โดยเฉพาะโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค เนื่องจากในป่าหรือถ้ำนั้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์รวมถึงแมลงต่างๆ เช่น ค้างคาว นก หนู เห็บ ยุง รื้น ไร เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจเป็นแหล่งรังโรคและเป็นพาหะของโรคติดต่อที่สำคัญได้
👉🏻 วันต้นธรรมได้นำข้อมูลของโรคที่สามารถพบได้ในถ้ำหรือป่า เพื่อให้พระสงฆ์ที่ต้องออกธุดงค์สามารถทราบข้อมูลในเรื่องของอาการ และการรักษาไว้ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที 🥰
1. โรคฮีสโตพลาสโมสิส (Histoplasmosis)
เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Histoplasma capsulatum พบในบริเวณพื้นดินที่มีความชื้นสูง สามารถติดต่อผ่านการสูดระอองของสปอร์จากเชื้อที่ปนฝุ่น
อาการ : ปอดบวมรุนแรง ถึงขั้นติดเชื้อในอวัยวะอื่นๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม ไขกระดูก
วิธีการป้องกัน : สวมหน้ากากอนามัย หรือใช้ผ้าปิดปากและจมูก
2. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
เกิดจากเชื้อไสรัสเรบีส์ ติดเชื้อจากการถูกค้างคาวกัดหรือถูกกัดโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทันท่วงที
อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กลัวแสง ไปจนถึงเสียชีวิต
วิธีการป้องกัน : ระวังค้างคาวในป่าในถ้ำกัด หรือฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าก่อนเดินทาง
3. โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า Leptospira พาหะนำโรค ได้แก่ หนู ค้างคาว คนได้รับเชื้อจากการถูกกัดหรือสัมผัสกับปัสสาวะสัตว์ที่มีเชื้อ
อาการ : ไข้หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ตับและม้ามโต รวมถึงมีภาวะตัวเหลืองตาเหลืองหรือดีซ่าน
วิธีการป้องกัน : ห่มจีวรให้มิดชิด หากสัมผัสกับปัสสาวะสัตว์หรือน้ำที่ปนเปื้อนควรรีบล้างทำความสะอาด
4. โรคสมองอักเสบ (Encephalitis)
เกิดจากไวรีสปาห์ ซึ่งค้างคาวกินผลไม้เป็นแหล่งรังโรค คนได้รับเชื้อจากการสัมผัสกับผลไม้ที่ปนเปื้อนกับน้ำลายหรือปัสสาวะของค้างคาว
อาการ : มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สมองอักเสบ และมีความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ
วิธีการป้องกัน : หลีกเลี่ยงการทานผลไม้ที่มีรอยสัตว์กัดแทะ ล้างมือเมื่อสัมผัสกับสิ่งที่สงสัยการปนเปื้อนสารคัดหลั่งของค้างคาว
5. โรคติดเชื้อที่มียุงเป็นพาหะ (Arthropod-borne diseases)
เกิดจากยุงก้นป่องที่เป็นพาหะ ซึ่งโรคที่พบมากที่สุด ได้แก่ ไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออกเดงกี
อาการ : มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ มีจุดเลือดออก และมีอาการช็อกได้
วิธีการป้องกัน : ห่มจีวรให้มิดชิดขณะเข้าไปในป่าหรือถ้ำ ใช้ยากันยุง รวมถึงเลือกเต็นท์ที่สามารถป้องกันยุงได้
6. โรคสครับไทฟัส (Scrub typhus)
เกิดจากเชื้อ ริกเก็ตเซีย (Rickettsia) มีแมลงเป็นพาหะ คนได้รับเชื้อจากการถูกไรตัวอ่อนกัด ทำให้มีรอยบุ๋มและมีสีดำคล้ายรอยถูกบุหรี่จี้
อาการ : มีไข้สูง ปวดศรีษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก หูอื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง
วิธีการป้องกัน : ห่มจีวรให้มิดชิด รวมถึงทายาป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย
อ้างอิงข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 👇
📲 โทร 086-339-6461
👉 ชมสินค้าอื่นๆของต้นธรรม https://tontham.com/
📬 m.me/tondhum ทัก inbox มาถามก็ได้ค่ะ
💭 https://lin.ee/kJLeV6M ทักไลน์ถามข้อสงสัยต่าง ๆ ได้เลย
Comments